ปฏิกริยานิวเคลียร์


ปฏิกริยานิวเคลียร์
(Nuclear reaction)


ปฏิกริยานิวเคลียร์ คือ ปฏิกริยาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียส (โดยทั่วไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่อิเล็กตรอน) ทำให้เกิดนิวเคลียสของธาตุใหม่ขึ้น และให้พลังงานมหาศาล ปฏิกริยานิวเคลียร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.ปฏิกริยาฟิชชัน (Fission reaction) เกิดจากการยิงอนุภาคนิวตรอนไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก นิวเคลียสแตกออกเป็น 2 ส่วน และได้อนุภาคนิวตรอนอีก 2-3 อนุภาค รวมถึงคายพลังงานมหาศาลออกมาจากนั้นนิวตรอนที่มีพลังงานสูงที่แตกออกมานี้จะวิ่งไปชนอนุภาคใกล้เคียงเกิดเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ทำให้ได้พลังงานมหาศาล และเพื่อควบคุมปฏิกริยารุนแรง หรือที่เรียกว่าลูกระเบิดปรมาณู อันเกิดจากปฏิกริยาลูกโซ่ นักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูซึ่งควบคุมปฏิกริยาที่เกิดขึ้นได้ด้วยการควบคุมปริมาณนิวตรอนที่เกิดขึ้น และหน่วงการเคลื่อนที่ของนิวตรอนให้ช้าลง (ลดอัตราการเกิดปฏิกริยา)
ตัวอย่างสมการแสดงปฏิกริยานิวเคลียร์แบบฟิชชัน



2.ปฏิกริยาฟิวชัน (Fusion reaction) เกิดจากการที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมเป็นนิวเคลียสของธาตุที่หนักกว่า และปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ (ที่เกิดจากมวลส่วนหนึ่งที่หายไป) ออกมา พลังงานที่ได้จากปฏิกริยานิวเคลียร์แบบฟิวชันมีค่ามากกว่าปฏิกริยานิวเคลียร์แบบฟิชชันเมื่อเทียบจากมวลส่วนที่เข้าทำปฏิกริยา ปฏอกรอยานิวเคลียร์แบบฟิวชันนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลูกระเบิดไฮโดรเจน เป็นปฏิกริยาแบบเดียวกับที่เกิดบนดวงอาทิตย์ โดยเริ่มต้นของปฏิกริยานิวเคลียร์แบบฟิวชันนี้จะต้องใช้ความร้อนสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียส ซึ่งสันนิษฐานว่าความร้อนเริ่มต้นน่าจะมาจากปฏิกริยานิวเคลียร์แบบฟิชชันเป็นตัวจุดชนวน
ตัวอย่างสมการแสดงปฏิกริยานิวเคลียร์แบบฟิวชัน


คลิปแสดงการเกิดปฏิกริยานิวเคลียร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น