กัมมันตภาพรังสีที่ธาตุกัมมันตรังสีแผ่ออกมามีอยู่ 3 ชนิด ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1.รังสีแอลฟา (
) สัญลักษณ์
หรือ
เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียมซึ่งมีประจุ +2 เนื่องจากมีประจุไฟฟ้าบวกจึงเบนเข้าหาขั้วลบ เป็นรังสีที่มีพลังงานสูงสุด แต่มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำที่สุด โดยสามารถเดินทางผ่านอากาศได้เพียง 3 – 5 ซม. หรือ กระดาษเพียง 1 – 2 แผ่นก็สามารถกั้นได้ เนื่องจากรังสีแอลฟาสามารถทำให้สารที่ผ่านแตกตัวเป็นไอออนได้ดี จึงเสียพลังงานอย่างรวดเร็ว ธาตุที่แผ่รังสีแอลฟาได้นั้นจะมีจำนวนโปรตรอนมากเกินไป (นิวเคลียสมีขนาดใหญ่มากเกินไป) ทำให้แรงผลักระหว่างโปรตรอนมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวภายในนิวเคลียส



ตัวอย่างการแผ่รังสีแอลฟา
2.รังสีเบตา (
) สัญลักษณ์ 
หรือ 
เป็นลำของอนุภาคที่มีสมบัติเหมือนกับอิเล็กตรอน (รวมถึงโพรสิตรอน หรือ 
แต่ส่วนใหญ่ที่พบบนโลกจะมีสมบัติเหมือนอิเล็กตรอน) มีประจุ -1 เนื่องจากมีประจุไฟฟ้าลบจึงเบนเข้าหาขั้วบวก อำนาจทะลุทะลวงมากกว่ารังสีแอลฟา ในขณะที่มีพลังงานต่ำกว่า รังสีเบตามีความเร็วใกล้เคียงแสง สามารถทะลุผ่านโลหะแผ่นบาง ๆได้ ธาตุที่รังสีเบตาได้นั้นจะมีจำนวนนิวตรอนมากเกินไป (แผ่
) หรือ มีจำนวนนิวตรอนน้อยเกินไป (แผ่
)






ตัวอย่างการแผ่รังสีเบตา
กรณีมีนิวตรอนมากเกินไป
กรณีมีนิวตรอนน้อยเกินไป



ตัวอย่างการแผ่รังสีแกมมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น